แม้จะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นเพื่อผ่อนคลายกายใจไปกับการแช่กายในออนเซ็นของประเทศญี่ปุ่น แต่ยังคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความกังวล และมีคำถาม ข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ เช่น "เหตุใดหญิงชายจึงไม่สามารถลงบ่อเดียวกันได้" "เหตุใดต้องเปลือยกายลงบ่อ" "มีเหตุผลอะไรที่ห้ามมิให้ใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่ปกปิดร่างกาย" พนักงานบริการในออนเซ็นของญี่ปุ่นเองก็มักถูกตำหนิว่า "แข็งกร้าวเกินไป" เมื่อพบใครไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ "ธรรมเนียมแบบญี่ปุ่น" พนักงานที่เข้มงวดก็จะพูดทันทีว่า "No" นี่ทำให้สร้างความขุ่นมัวให้แก่คนต่างชาติไม่น้อย บ้างเล่าว่า "ตนเองไม่ต้องการให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกายที่เปลือยเปล่าของตนเอง จึงนำผ้าขนหนูผืนใหญ่มาปกปิดร่างกายไว้ ขณะเดินเข้าออนเซ็น จังหวะนั้นก็มีพนักงานของออนเซ็นเดินมาตักเตือน" และอีกหลากหลายประเด็นที่น่าค้นหาคำตอบ
เป็นที่น่าเสียดายมาก ที่ต้องเสียความรู้สึกเช่นนี้ ทั้งๆที่ตั้งใจจะมีประสบการณ์ร่วมกับคนญี่ปุ่นในการเข้าออนเซ็นแท้ๆ ด้วยเหตุนี้ การได้เข้าใจที่ถึงแก่นแท้ของออนเซ็น และธรรมเนียมปฏิบัติที่ตกทอดกันมาของคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับออนเซ็น ย่อมช่วยให้เราทำใจน้อมรับได้ง่ายมากขึ้น และสามารถมีความสุข สบายใจในการลงออนเซ็นได้มากขึ้นอย่างแน่นอน บทความนี้ จะอธิบายให้ท่านทราบถึงหัวใจและจิตวิญญาณของออนเซ็นตามแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ท่านควรรู้
อันที่จริงแล้ว ความเข้าใจพื้นฐานที่คนญี่ปุ่นและคนต่างชาติมีต่อออนเซ็นนี้ถือว่าแตกต่างกันมาก นั่นเป็นเพราะในแง่ของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แล้ว ต้นกำเนิดของออนเซ็นญี่ปุ่นกับออนเซ็นที่มีในประเทศอื่นหลายประเทศนั้นมีข้อที่แตกต่างกันนั่นเอง ที่ประเทศญี่ปุ่น ออนเซ็น คือ สถานที่ชำระล้างร่างกายและจิตใจที่ขุ่นมัว เป็นทั้งสถานที่อาบน้ำและที่ที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น โรงอาบน้ำรวมขนาดใหญ่เป็นห้องอาบน้ำขนาดใหญ่ 1 ห้อง ส่วนแบบบ่อแช่เป็นอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ 1 อ่าง คนต่างชาติส่วนใหญ่เข้าใจโดยพื้นฐานว่า ออนเซ็น คือ รีสอร์ตสปา ทั้งที่จริงแล้ว ออนเซ็นของญี่ปุ่น คือ สถานที่ชำระกายใจให้บริสุทธิ์ สะอาด มิใช่ในความหมายทางบันเทิงหรือรีสอร์ตเช่นนั้น
ความจริงประการนี้มีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับวัฒนธรรม "โอฟุโระ" (การลงแช่กายในอ่าง) ของประเทศญี่ปุ่นมาก ในขณะที่ชาวต่างชาติมองว่า การล้างร่างกายให้สะอาด คือ การล้างร่างกายด้วยฝักบัวอาบน้ำ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้ว โอฟุโระต่างหากที่เป็นวิธีการอาบน้ำที่สืบทอดกันมาช้านาน ดังนั้น คำในภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า "ล้างร่างกายให้สะอาด" นี้ จึงตรงกับคำว่า "ลงอ่างอาบน้ำ" ส่วนคำว่า "บ่ออาบน้ำร้อนกลางแจ้ง (โระเท็นบุโระ)" แม้จะกลับเป็นคำนามเฉพาะตัวที่มีรากศัพท์มาจากภาษาญี่ปุ่นในประเทศที่ใช้ตัวอักษรคันจิ แต่น้อยคนนักจะเข้าใจความหมายที่ถูกต้องของคำนี้ ซึ่งคือ "โอฟุโระ (อ่างอาบน้ำ)=โยคุโซ (บ่ออาบน้ำ)" ที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าโรงแรมจะแคบเพียงใด ส่วนใหญ่จะมีอ่างอาบน้ำไว้บริการผู้เข้าพักเสมอ สิ่งนี้ก็เช่นกันมาจากธรรมเนียมที่ว่า "การล้างร่างกาย มีความหมายเท่ากับ การลงแช่กายในอ่าง" อพาร์ทเม้นท์ใดที่ไม่มีอ่างอาบน้ำ จึงถือว่า เป็นอพาร์ตเม้นท์ที่อัตขัดและเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก และมักเป็นอพาร์ทเม้นท์ที่คนไม่นิยมเข้าไปเช่าพักด้วย ดังนั้น เราจึงกล่าวได้ว่า การชื่นชอบในโอฟุโระ (การลงอ่างอาบน้ำ) ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวหนึ่งของคนญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้ ตั้งแต่อดีตกาลมา ที่ประเทศญี่ปุ่น ยังมีวัฒนธรรมการใช้บริการสถานที่อาบน้ำสาธารณะ หรือที่เรียกว่า "เซนโต" อีกด้วย เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในเวลาที่คนรู้สึกไม่อยากลงอ่างอาบน้ำแคบๆ ในบ้านของตน ผู้คนจะยอมจ่ายเงิน เพื่อได้แช่กายในโรงอาบน้ำรวมขนาดใหญ่นอกบ้าน ซึ่งบ่ออาบน้ำแบบเสียเงินนี้ ส่วนใหญ่ จะใช้น้ำธรรมดา และโดยสาระสำคัญแล้ว บ่ออาบน้ำแบบเสียเงินและออนเซ็นของประเทศญี่ปุ่นมีความคล้ายกัน แต่ออนเซ็นจะให้ความรู้สึกที่เหนือกว่าเซนโต
เนื่องจากออนเซ็นก็ถือเป็นสถานที่อาบน้ำแบบเสียเงินเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถสวมชุดว่ายน้ำลงบ่อได้ สามารถรู้สึกผ่อนคลายได้เพราะเปลือยกายในสถานที่มีแต่ผู้คนที่เป็นเพศเดียวกัน คนญี่ปุ่นที่อยู่ในออนเซ็นมักไม่พยายามปกปิดร่างกายของตนเอง และไม่มีกิริยาท่าทางเขินอายแต่อย่างใด ในมุมกลับกัน กลับรู้สึกถึงการปลดปล่อยและเป็นอิสระจากพันธการมากกว่า ดังนั้น หากมีใครที่ใช้ผ้าเช็ดตัวปกปิดร่างกายของตนเอง เขาทำผิดปกติและทำให้รู้สึกว่าตัวเราเปลือยกายอยู่ สิ่นนี้จะทำให้เรารู้สึกเขินอาย ย้ำอีกครั้งว่า การนำผ้าเช็ดตัวมาปกปิดร่างกายถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น และโดยพื้นฐานแล้วไม่เฉพาะชุดว่ายน้ำเท่านั้น อุปกรณ์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกกาลเทศะสำหรับการแช่กายในบ่อ ให้ถือเป็นพฤติกรรมต้องห้ามทั้งสิ้น
ฉันเป็นคนสวมแว่นตา แต่มีครั้งนึงตอนลงบ่อออนเซ็น เลนส์แว่นตาก็เป็นฝ้าจึงใส่แว่นตาว่ายน้ำลงบ่อแทน แต่ก็มีพนักงานออนเซ็นมาห้ามไว้ไม่ให้ใส่ เหตุผลที่ต้องห้าม ก็เนื่องจากว่า แว่นตาว่ายน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ถูกเหมาะควรใช้กับสถานที่ล้างร่างกายนั่นเอง
การล้างร่างกายและจิตใจด้วยความรู้สึกผ่อนคลายในอ่างอาบน้ำที่กว้างโอ่อ่า คือ สิ่งที่ควรเกิดขึ้นเมื่อเข้าใช้ออนเซ็น เรียวคังออนเซ็นของประเทศญี่ปุ่นจึงมีความพยายามอย่างที่สุดในการพัฒนา ปรับปรุงโรงอาบน้ำรวมขนาดใหญ่ เพื่อให้เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งจุดขายของเรียวคังออนเซ็นนั้น ปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของคนสมัยใหม่ ออนเซ็นส่วนตัว ซึ่งรวมถึง ห้องพักแบบมีบ่ออาบน้ำร้อนกลางแจ้ง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว นี่เป็นเหมือนสิ่งที่แถมมากับโปรแกรมการพักหรือท่องเที่ยว คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มองว่า "ถ้าไม่ได้เข้าโรงอาบน้ำรวมขนาดใหญ่ ก็พูดไม่ได้ว่า ลงออนเซ็นแล้ว"
เมื่อเราทราบที่มาของเซนโต และเข้าใจถึงหัวใจกับจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ในอองเซ็น คือ เรื่องของการ "ล้างกายใจให้สะอาด" แล้ว เราก็จะตระหนักว่า ต้องไม่สวมชุดว่ายน้ำหรือใส่อุปกรณ์ว่ายน้ำไม่ว่าจะเข้าออนเซ็นไหนในประเทศญี่ปุ่น มีชาวต่างชาติที่จำนวนไม่น้อยพยายามเฟ้นหาออนเซ็นในเรียวคังออนเซ็นต้นตำรับที่อนุญาตให้ใส่ชุดว่ายน้ำได้ แต่ก็ไม่พบ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีปฏิบัติกันมาอยู่แล้ว หากต้องการสวมชุดว่ายน้ำเข้าออนเซ็น ขออนุญาตแนะนำให้ค้นหาสถานที่พักผ่อนที่จำลองออนเซ็นมา ที่มิใช่เรียวคังออนเซ็น หากเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบมีออนเซ็นที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงหรือแหล่งรีสอร์ทเป็นหลัก ท่านสามารถสวมชุดว่ายน้ำได้ และชายหญิงยังสามารถลงบ่อเดียวกันได้อีกด้วย ที่เรียวคังออนเซ็น ขอให้เราแยกแยะเรื่องนี้ให้ชัดเจน และยอมรับความเป็นออนเซ็นตามวิถีที่คนญี่ปุ่นโบราณได้วางไว้และถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ออนเซ็นของประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงมอบ "ความรู้สึกที่ดี" แก่ผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่ยังเป็นประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประเทศอื่น ดังคำกล่าวที่ว่า "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ขอให้ท่านได้ลองมีประสบการณ์กับออนเซ็นตามแบบวิถีของคนญี่ปุ่นโบราณ ไม่ใช่ความรู้สึกเหมือนมาพักผ่อนในรีสอร์ตสปา แต่เป็นความรู้สึกของการด่ำดื่มไปกับห้วงวัฒนธรรมญี่ปุ่น เมื่อลองแช่ออนเซ็น ร่างกายของท่านสะอาดแล้ว ท่านย่อมรู้สึกผ่อนคลาย และสุขภาพแข็งแรงขึ้นได้อีก อย่างที่มีคำกล่าวแบบนี้ คือ"ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว" ขอเชิญชวนท่านร่วมค้นหาเรียวคังออนเซ็นที่มีโรงอาบน้ำรวมที่ดีเยี่ยมจากเว็บไซต์นี้ไปด้วยกัน
*โฮมเพจภาษาอังกฤษ
*การจองห้องพัก ผ่าน Agoda หรือ Booking.com (รองรับภาษาไทย)
Interesting hot springs
LIST OF RYOKANS